21 มีนาคม 2567 การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยกิจการร่วมค้าซีเคเอสที-ดีซี 2 (สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย) ลงพื้นที่ชี้แจงกับชาวบ้านในพื้นที่บ้านสันป่าสัก หมู่ 2 และบ้านร้อง หมู่ 6 ตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา เรื่องการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการก่อสร้างสะพานและทางลอดจาก Railway Bridge เป็น Arch Underpass บริเวณ RB172 กม.ที่ 695+767.000 และ RB176 กม.ที่ 679.925.000 ชาวบ้านเห็นชอบและให้ความร่วมมือในการก่อสร้างเป็นอย่างดี เนื่องจาก Arch Underpass มีข้อดีหลายประการ อาทิ ใช้ระยะเวลาก่อสร้างน้อยกว่า สามารถคืนพื้นที่สัญจรได้เร็วกว่า รองรับถนนและลำน้ำได้โดยไม่ส่งผลกระทบทางน้ำ  
image
image
image
image
18 มีนาคม 2567 ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และคณะ ได้เข้าตรวจเยี่ยมและติดตามการขอใช้พื้นที่ ส.ป.ก. เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ในการนี้ นายปัฐตพงษ์ บุญแก้ว วิศวกรโครงการ (สัญญาที่ 2) การรถไฟแห่งประเทศไทย กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา CSDCC และกิจการร่วมค้าซีเคเอสที-ดีซี 2 ได้ให้การต้อนรับและสรุปความก้าวหน้าการก่อสร้าง ณ สำนักงานก่อสร้างโครงการฯ และนำเข้าชมพื้นที่ก่อสร้างอุโมงค์แม่กา ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
image
image
image
image
image
image
18 มีนาคม 2567 นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ลงพื้นที่จังหวัดเชียงราย ตรวจความคืบหน้าการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟดอยหลวง
นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ตรวจเยี่ยม พร้อมตรวจความคืบหน้าการก่อสร้างอุโมงค์ทางรถไฟดอยหลวง ภายใต้โครงการรถไฟทางคู่สายเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ โดยมีนางสาวณภัทรา กมลรักษา ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายพิเชษฐ คุณาธรรมารักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง พร้อมด้วยผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม โดยมีนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พร้อมด้วยผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทยให้การต้อนรับ ณ พื้นที่ก่อสร้างอุโมงค์ทางรถไฟดอยหลวง จังหวัดเชียงราย
นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ กล่าวว่า การก่อสร้างอุโมงค์ทางรถไฟดอยหลวง เป็น 1 ใน 4 อุโมงค์ ภายใต้โครงการรถไฟทางคู่สายเด่นชัย - เชียงราย – เชียงของ ตามแนวเส้นทางที่พาดผ่านพื้นที่ภูเขา ประกอบด้วย 1. อุโมงค์สอง จังหวัดแพร่ ความยาว 1.2 กิโลเมตร 2. อุโมงค์งาว จังหวัดลำปาง ความยาว 6.2 กิโลเมตร 3. อุโมงค์แม่กา จังหวัดพะเยา ความยาว 2.7 กิโลเมตร 4. อุโมงค์ดอยหลวง จังหวัดเชียงราย ความยาว 3.4 กิโลเมตร รวมระยะทาง 13.5 กิโลเมตร ซึ่งอุโมงค์งาวเป็นอุโมงค์ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย พร้อมมอบให้ รฟท. เร่งรัดดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบการขนส่งทางราง การอำนวยความสะดวกการเดินทางแก่ผู้โดยสารให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การเร่งรัดดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ และรถไฟทางสายใหม่ให้เสร็จตามแผนที่กำหนด เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรได้สะดวก สามารถลด ระยะเวลาเดินทางเมื่อเทียบกับรถยนต์ได้กว่า 1 - 1 ชั่วโมงครึ่ง โดยคาดจะแล้วเสร็จสมบูรณ์พร้อมเปิดใช้บริการได้ในปี 2571
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย – เชียงราย - เชียงของ เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่งของไทย โดยมีจุดเริ่มต้นที่สถานีเด่นชัย จังหวัดแพร่ มุ่งไปทางทิศเหนือผ่านพื้นที่ 59 ตำบล 17 อำเภอ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ ลำปาง พะเยา และสิ้นสุดที่ด่านพรมแดนเชียงของ จังหวัดเชียงราย มีสถานี และป้ายหยุดรถ 26 แห่ง ประกอบด้วย สถานีขนาดใหญ่ 4 แห่ง สถานีขนาดเล็ก 9 แห่ง ป้ายหยุดรถ 13 แห่ง และมีย่านกองเก็บและขนถ่ายตู้สินค้า บรรทุกตู้สินค้า 1 แห่ง ที่สถานีเชียงของ บนพื้นที่ 150 ไร่ พร้อมแนวถนน เชื่อมต่อไปยังชายแดนเชียงของ โดยโครงการได้มีการออกแบบให้มีรั้วกั้นตลอดแนวเส้นทางรถไฟ ไม่มีจุดตัดทางถนน โดยทำสะพานรถยนต์ข้ามและลอดทางรถไฟ (Overpass/ Underpass) รวมถึงสะพานลอยสำหรับทางเท้า และทางรถจักรยานยนต์ รวม 254 จุด ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุบริเวณทางผ่านเสมอระดับ สามารถรักษาระดับความเร็ว ของขบวนรถไฟให้คงที่ มีความปลอดภัย ทั้งนี้ เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วเสร็จ รถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย – เชียงราย - เชียงของ จะเป็นเส้นทางรถไฟที่มีเทคโนโลยีก่อสร้างที่ทันสมัย มีทิวทัศน์รอบข้างสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ และเพิ่ม ประสิทธิภาพโครงข่ายการคมนาคมของไทยให้สมบูรณ์ ทำให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคม และโลจิสติกส์ของอาเซียน
Cr: ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย 
image
image
image
image
image
image
15 มีนาคม 2567 การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา CSDCC และกิจการร่วมค้าไอทีดี-เนาวรัตน์ (สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว) ร่วมประชุมหารือกับสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 (ลำปาง)  และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) เรื่องพื้นที่ทับซ้อนของป่าแม่งาวฝั่งขวา (ต.แม่ตีบ) และป่าแม่งาวฝั่งซ้าย (ต.หลวงใต้) ของพื้นที่ คทช.ที่อยู่ในแนวเขตพื้นที่ก่อสร้างทางรถไฟฯ พร้อมกันนี้ ได้ลงตรวจสอบพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ ทสจ. จ.ลำปาง เพื่อขอพื้นที่ป่าเพิ่มจำนวน 13 ไร่ บริเวณรอบปากอุโมงค์แม่ตีบ ฝั่งเหนือ  
 
image
image
image
image
image
image
14 มีนาคม 2567 การรถไฟแห่งประเทศไทย กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา CSDCC และกิจการร่วมค้าซีเคเอสที-ดีซี 2 (สัญญาที่ 2 ช่วงงาว- เชียงราย) ทำความตกลงเพื่อทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนกับการรถไฟฯ กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ กม. 720+500 - 724+050 และ กม. 731+850 - 732+200  จำนวน 66 แปลง ในท้องที่ตำบลสันมะค่า ตำบลป่าแดด ตำบลป่าแงะ อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย ณ สำนักงานก่อสร้างโครงการฯ ตำบลโรงช้าง อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย
image
image
image
image
image
image
7-12 มีนาคม 2567 การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยกิจการร่วมค้าซีเคเอสที-ดีซี 2 (สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย) และกิจการร่วมค้าซีเคเอสที-ดีซี 3 (สัญญาที่ 3 ช่วงเชียงราย-เชียงของ) ลงพื้นที่ชี้แจงเรื่องการเปลี่ยนแปลงรูปแบบสะพานและแผนงานก่อสร้าง ในพื้นที่ต่าง ๆ ระหว่างวันที่ 7 – 12 มีนาคม 2567 ดังนี้ บ้านสันมะค่า ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา  บ้านสันป่าคาม / บ้านสันบัวคำ / บ้านศรีมงคล ตำบลสันมะค่า อำเภอป่าแดด  บ้านสันมะเกิ้น / บ้านรำจวน ตำบลป่าแงะ อำเภอป่าแดด  บ้านใหม่ใต้ / บ้านสันโค้ง ตำบลป่าแดด อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย ซึ่งผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ให้ความสนใจและเห็นด้วยกับการนำเสนอของโครงการฯ
image
image
image
image
image
image
12 มีนาคม 2567 การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยกิจการร่วมค้าไอทีดี-เนาวรัตน์ (สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว) ลงพื้นที่ชี้แจงเรื่องการเข้าพื้นที่ก่อสร้างในส่วนของเทศบาลตำบลหลวงเหนือ อำเภองาว จังหวัดลำปาง ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ได้ทำสัญญาเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แล้ว อยู่ระหว่างรอรับเช็คค่าเวนคืนฯ ทางโครงการฯ จึงขอเข้าดำเนินการเคลียร์พื้นที่และชี้แจงแนวทางการทำงาน รวมถึงการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ หากได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโครงการ จากการประชุมหารือในครั้งนี้ ชาวบ้านให้ความร่วมมือและยินดีให้โครงการฯ เข้าดำเนินการในพื้นที่ได้ตามแผนงาน
image
image
image
image
12 มีนาคม 2567 การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา CSDCC พร้อมด้วยกิจการร่วมค้าไอทีดี-เนาวรัตน์ (สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว) ลงพื้นที่ชี้แจงงานตอกเสาเข็มและพื้นที่เก็บกองรางรถไฟ ตลอดจนเส้นทางเข้า-ออกภายในหมู่บ้าน บริเวณตำบลดอกคำใต้ อำเภอแม่ตีบ จังหวัดลำปาง โดยมติที่ประชุมขอให้พิจารณาเส้นทางขนส่งใหม่อีกครั้งเพื่อไม่ให้กระทบกับเส้นทางเข้าหมู่บ้านที่เพิ่งก่อสร้างเสร็จใหม่ ทั้งนี้ จะมีการพิจารณาเส้นทางขนส่งที่เหมาะสมต่อไป
image
image
image
11 มีนาคม 2567 นายปัฐตพงษ์ บุญแก้ว วิศวกรโครงการ (สัญญาที่ 2) การรถไฟแห่งประเทศไทย กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา CSDCC และกิจการร่วมค้าซีเคเอสที-ดีซี 2 (สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย) ประชุมชี้แจง รับฟังข้อคิดเห็น ตลอดจนข้อเสนอแนะของประชาชนตามแนวเส้นทางก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ในพื้นที่ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ณ ศาลาประชาชน วัดแม่กาห้วยเคียน หลังจากประชาชนได้ฟังรายละเอียดการดำเนินการก่อสร้างแล้ว เป็นที่พอใจ และเข้าใจในข้อประเด็นต่าง ๆ
image
image
image
image
image
image
9 มีนาคม 2567 สมาคมวิศวกรเหมืองแร่ไทย โดยความร่วมมือของคณะอนุกรรมการวิชาการสภาการเหมืองแร่ จัดกิจกรรมวิชาการเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ให้แก่สมาชิกและบุคลากรหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประมาณ 30 คน ซึ่งเป็นวิศวกรเหมืองแร่ วิศวกรโยธา และนักธรณีวิทยา ในครั้งนี้เป็นหัวข้อเรื่องการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟทางคู่ด้วยการเจาะระเบิด ในช่วงเช้ารับฟังการบรรยายจากวิศวกรจาก บริษัท ไร้ท์ทันเน็ลลิ่ง จำกัด (มหาชน) ณ ไร่ภูกลองฮิลล์ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ส่วนในช่วงบ่ายเยี่ยมชมพื้นที่ก่อสร้างบริเวณอุโมงค์งาว จังหวัดลำปาง
image
image
image
image
image
image
9 มีนาคม 2567 นายปัฐตพงษ์ บุญแก้ว วิศวกรโครงการ (สัญญาที่ 2) การรถไฟแห่งประเทศไทย กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา CSDCC และกิจการร่วมค้าซีเคเอสที-ดีซี 3 (สัญญาที่ 3 ช่วงเชียงราย-เชียงของ) เข้าร่วมประชุมหารือเพื่อเตรียมการดำเนินการย้ายโบสถ์ วัดเหล่าเจริญราษฎร์ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย เนื่องจากโครงสร้างบางส่วนของวัดล้ำเข้ามาอยู่ในแนวเขตเส้นทางรถไฟ ซึ่งเจ้าอาวาสวัดเหล่าเจริญราษฎร์ ผู้นำชุมชน ผู้แทนสำนักพุทธศาสนา และประชาชนในพื้นที่ รับทราบข้อมูลและเห็นด้วยกับการดำเนินงานของโครงการ
image
image
image
image
image
image
6 มีนาคม 2567 การรถไฟแห่งประเทศไทย และกิจการร่วมค้าซีเคเอสที-ดีซี 2 (สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย) ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์เรื่องการเปลี่ยนแปลงรูปแบบสะพานและแผนงานก่อสร้างในพื้นที่บ้านป่าไม้สีเหลือง ตำบลศรีโพธิ์เงิน อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย
image
image
image
image
6 มีนาคม 2567  การรถไฟแห่งประเทศไทย และกิจการร่วมค้าซีเคเอสที-ดีซี 3 (สัญญาที่ 3 ช่วงเชียงราย-เชียงของ) เข้าร่วมประชุมหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการบริหารงานอำเภอแบบบูรณาการ (กบอ.) อำเภอเวียงเชียงรุ้ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ประจำเดือนมีนาคม 2567 ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอเวียงเชียงรุ้ง พร้อมนี้ ผู้แทนโครงการฯ ได้แจ้งถึงความคืบหน้าการก่อสร้างให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมรับทราบ
image
image
image
image
image
image
2 มีนาคม 2567 การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยกิจการร่วมค้าซีเคเอสที-ดีซี 3 (สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย) ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์แจ้งการดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ (Overpass No.25) และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน ให้แก่ผู้อาศัยในพื้นที่ใกล้เคียงพื้นที่ก่อสร้างสถานีพะเยา ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
image
image
image
image
image
image
1 มีนาคม 2567  ศูนย์เทคโนโลยียานยนต์และขนส่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด ในการพัฒนาความร่วมมือด้านงานวิชาการและงานทดสอบทางวิศวกรรมในโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยพะเยา โดยศูนย์เทคโนโลยียานยนต์และขนส่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรเทคโนโลยีระบบขนส่งทางราง “ธัชวิทย์” วิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (TAS: Thailand Academy of Sciences) ปริญญาโท ปริญญาเอก ภายใต้หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้มีการประชุมปรึกษาหารือเรื่อง ความร่วมมือทางวิชาการและงานวิจัยทางด้านระบบราง รองรับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ณ ห้องประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
image
image
image
image
image
image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้