18 กรกฎาคม 2567 การรถไฟแห่งประเทศไทย กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา CSDCC และกิจการร่วมค้าไอทีดี-เนาวรัตน์ (สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว)  ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน โครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล (คทช.) ตำบลแม่ตีบ ณ ศาลาประชาคม หมู่บ้านดอกคำใต้ อำเภองาว จังหวัดลำปาง จำนวน 19 ราย 103 แปลง
18 กรกฎาคม 2567 การรถไฟแห่งประเทศไทย กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา CSDCC และกิจการร่วมค้าไอทีดี-เนาวรัตน์ (สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว)  ลงพื้นที่ชี้แจงแผนงานและมาตรการป้องกัน แก้ไขและลดผลกระทบจากงานตอกเสาเข็ม และงานก่อสร้างสะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ (Overpass Bridge) ต่อผู้ใหญ่บ้านวังช้าง หมู่ที่ 3 และประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบ ณ ศาลาเอนกประสงค์บ้านวังช้าง หมู่ที่ 3 ตำบลแม่คำมี อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
17-19 กรกฎาคม 2567
การรถไฟแห่งประเทศไทยได้จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วเสร็จ จึงได้เชิญคณะกรรมการกำกับการติดตามตรวจสอบและการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม ในระยะก่อสร้าง เข้าร่วมประชุมและตรวจสอบพื้นที่โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระหว่างวันที่ 17-19 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
นายอนันต์ เจนงามกุล วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย ประธานกรรมการ กล่าวต้อนรับคณะกรรมการฯ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนและผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กรมควบคุมมลพิษ กรมทางหลวง สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพะเยา และหน่วยงานระดับจังหวัด ณ ห้องประชุมสำนักงานโครงการฯ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย หลังจากนั้น ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณก่อสร้างทั้ง 3 สัญญา ได้แก่ พื้นที่ก่อสร้างสถานีรถไฟเชียงราย อุโมงค์ดอยหลวง อุโมงค์แม่กา อุโมงค์สอง-งาว และสะพานรถไฟโค้ง ทั้งนี้ ได้มีการประชุมสรุปผลการตรวจสอบฯ ณ ห้องประชุมสำนักงานโครงการฯ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่
คณะกรรมการฯ ได้มีข้อคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง การติดตั้งกำแพงกันเสียงชั่วคราว/ถาวร การระบายน้ำ ทางเข้า-ออกของชุมชน การปลูกป่าชดเชย ผลกระทบต่อสัตว์ป่าและสัตว์หายาก การเตรียมความพร้อมด้าน Feeder การสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่โครงการและบริเวณใกล้เคียง ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน และการประชาสัมพันธ์โครงการ ซึ่งทางโครงการจะนำไปพิจารณาดำเนินการแก้ไขรายงานฯ เพื่อนำส่ง สผ. ต่อไป
15 กรกฎาคม 2567 การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยกิจการร่วมค้าไอทีดี-เนาวรัตน์ ร่วมกิจกรรมปลูกไม้ยืนต้น จำนวน 150 ต้น บริเวณป่าชุมชนทุ่งน้าว พื้นที่ 7 ไร่ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 พร้อมกันนี้ ยังได้หล่อเทียนพรรษา ร่วมกับ อบต.ทุ่งน้าว และประชาชนในพื้นที่ นับเป็นกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนใกล้เคียงบริเวณก่อสร้างโครงการฯ และสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกให้กับโครงการ ณ วัดทุ่งน้าว อำเภอสอง จังหวัดแพร่
13 กรกฎาคม 2567 การรถไฟแห่งประเทศไทย กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา CSDCC และกิจการร่วมค้า ซีเคเอสที-ดีซี 2 (สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย) ลงพื้นที่ลงพื้นที่ชี้แจงแผนงานก่อสร้างทางลอด (Box Underpass) หมายเลข 10 บริเวณ กม.ที่ 720+010.591 แก่ประชาชนและผู้นำชุมชน ในพื้นที่หมู่ 1 บ้านสันมะค่า ตำบลสันมะค่า อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย โดยนำเสนอการยกเลิกทางเท้าบริเวณทางลอดดังกล่าว ซึ่งประชาชนมีมติเห็นชอบ และสนับสนุนให้ดำเนินการก่อสร้างต่อไป

12 กรกฎาคม 2567  “ปู๊น...ปู๊น หมู่เฮา” จัดนิทรรศการประชาสัมพันธ์โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ภายในงานมูลนิธิแพทย์อาสาในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) ครั้งที่ 18/2567 โดยมีนายบดินทร์ เทียมภักดี นายอำเภอเวียงชัย ประธานกล่าวต้อนรับ นายแพทย์ภุชงค์ ชื่นชม รองนายแพทย์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธีเปิดการให้บริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ฯ ณ หมู่บ้านทุ่งโค้ง หมู่ 10 ตำบลดอนศิลา อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย

10 กรกฎาคม 2567  การก่อสร้างโครงสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์!  Railway Bridge Toll to Tunnel งานคอนกรีตหล่อสำเร็จรูปตัวไอ (I–Girder) สะพานรถไฟ (Railway Bridge) หมายเลข 323 และ 324 ความยาว 30 เมตร บริเวณ กม. 820+300 ถึง 820+500 หน้าปากอุโมงค์ดอยหลวงฝั่งทิศเหนือ อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย
8 กรกฎาคม 2567 การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา CSDCC และผู้รับจ้างก่อสร้างสัญญาที่ 3 ช่วงเชียงราย-เชียงของ ร่วมทำพิธีขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในการขุดล้อมและขนย้ายต้นโพธิ์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เมตร ซึ่งอยู่บนบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง RB217 กม.739+710 ตำบลดอยลาน อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เมื่อล้อมย้ายต้นโพธิ์แล้ว จะนำไปปลูกไว้ใกล้เคียงจากจุดเดิม และอยู่ในเขตของรถไฟ
1 กรกฎาคม 2567 โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ สัญญาที่ 3 ช่วงเชียงราย-เชียงของ เริ่มประกอบชิ้นส่วนคานคอนกรีตหล่อสำเร็จรูปตัวไอ (I–Girder) สำหรับงานก่อสร้างสะพานรถไฟ (Railway Bridge) หมายเลข 323 และ 324 ความยาว 30 เมตร เป็นครั้งแรก จำนวน 8 คาน บริเวณ กม. 820+300 ถึง 820+500 บริเวณหน้าปากอุโมงค์ดอยหลวงฝั่งทิศเหนือ อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้