29-30 สิงหาคม 2567 นายจเร รุ่งฐานีย รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยนายอรรถพล เก่าประเสริฐ รองวิศวกรใหญ่ด้านก่อสร้าง นายพฤตินัย เลือดนักรบ วิศวกรโครงการ (สัญญาที่ 1) นายปัฐตพงษ์ บุญแก้ว วิศวกรโครงการ (สัญญาที่ 2) กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา CSDCC และผู้รับจ้างก่อสร้าง ต้อนรับคณะจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พินิจงานโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ปัจจุบันมีความก้าวหน้าก่อสร้างภาพรวมทั้ง 3 สัญญา ร้อยละ 15.344 ในส่วนของการเบิกจ่ายงบประมาณ ทางโครงการฯ สามารถเบิกจ่ายได้เร็วกว่าแผนงาน 837 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.150 นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตในภาครัฐ ได้ประเมินความเสี่ยงการทุจริตตามเกณฑ์เชิงคุณภาพ ประจำปีงบประมาณ 2566 ด้านdารใช้จ่ายงบประมาณ “งานจ้างก่อสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย” ได้ในระดับดีเยี่ยม (Excellent) โดยทางคณะได้กล่าวคำชื่นชมและแนะนำโครงการฯ หลังจากนั้น คณะได้เข้าเยี่ยมชมพื้นที่ก่อสร้างสถานีเชียงราย สะพานรถไฟบริเวณบ้านโทกหวาก อุโมงค์แม่กา อุโมงค์ดอยหลวง และพื้นที่ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
27 สิงหาคม 2567 โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ยังคงเดินหน้าบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ประสบกับอุทกภัยอย่างต่อเนื่อง โดยได้มอบสิ่งของจำเป็นให้กับสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดพะเยา รวมทั้งช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ตำบลสันมะค่า อำเภอป่าแดด และมอบน้ำให้กับนายอำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย เพื่อส่งมอบให้กับประชาชนต่อไป
25 สิงหาคม 2567 โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ร่วมบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่จากเหตุน้ำท่วมจังหวัดแพร่ โดยประชุมหารือการช่วยเหลือ ณ ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์น้ำ ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ และมอบเงินช่วยเหลือ โดยคุณณัชชา มีจันทร์ นายกเหล่ากาชาด จังหวัดแพร่ (ภรรยาผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่) เป็นผู้รับมอบ พร้อมนี้ทีมงานได้ลงพื้นที่แจกอาหารให้กับชาวบ้านที่ยังคงติดอยู่ในบ้านเรือน
14 สิงหาคม 2567 การรถไฟแห่งประเทศไทย “ปู๊น...ปู๊น...หมู่เฮา” ร่วมงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนภูมิภาค ประจำปี 2567 เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ผ่านนิทรรศการและกิจกรรมเกมลุ้นของที่ระลึกโครงการ งานนี้จัดโดยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ร่วมกับกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ระหว่างวันที่ 14-16 สิงหาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เพื่อเป็นการส่งเสริม เผยแพร่ทักษะ และพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์แก่นักเรียน นักศึกษา คณาจารย์ และประชาชนทั่วไป ทั้งในเขตจังหวัดเชียงราย รวมถึงเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน มีนักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจมาร่วมงานกว่า 10,000 คน
14 สิงหาคม 2567 นายพฤตินัย เลือดนักรบ วิศวกรโครงการ (สัญญาที่ 1) การรถไฟแห่งประเทศไทย กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา CSDCC และกิจการร่วมค้าไอทีดี-เนาวรัตน์ (สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว)  เข้าร่วมกิจกรรมสภากาแฟ ประจำเดือนสิงหาคม 2567 โดยมีนายชุติเดช มีจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่เป็นประธานสภากาแฟ ร่วมด้วยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม กระทรวงกลาโหม และสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อเป็นเวทีพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การประสานงานอย่างไม่เป็นทางการระหว่างภาคราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรอิสระ และภาคเอกชนในจังหวัดแพร่  ณ อาคารเวียงโกศัย สำนักงานทางหลวงที่ 2 ตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

13 สิงหาคม 2567 การรถไฟแห่งประเทศไทย กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา CSDCC และกิจการร่วมค้าไอทีดี-เนาวรัตน์ (สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว)  ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน โครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล (คทช.) ตำบลแม่ตีบ ณ ศาลาประชาคม หมู่บ้านดอกคำใต้ อำเภองาว จังหวัดลำปาง จำนวน 35 แปลง ซึ่งปัจจุบันทำสัญญาไปแล้ว 57 แปลง คงเหลือ 74 แปลง คาดว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคมนี้ เพื่อส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับจ้างก่อสร้างต่อไป
5 สิงหาคม 2567 การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยกิจการร่วมค้า ซีเคเอสที-ดีซี 3 ร่วมกิจกรรมทอดผ้าป่าการศึกษามหากุศล โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดแม่สาย โดยมอบเงินจำนวน 11,899 บาท สนับสนุนเป็นทุนการศึกษา จัดซื้ออุปกรณ์การเรียน และพัฒนาศักยภาพให้แก่นักเรียนผู้พิการทางการมองเห็น พร้อมกันนี้ยังมอบ ดื่ม ขนม และของใช้ให้กับน้อง ๆ อีกด้วย ณ โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด ตำบลศรีเมืองชุม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
4 สิงหาคม 2567 การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา CSDCC และกิจการร่วมค้า ซีเคเอสที-ดีซี 2 (สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย) ลงพื้นที่ชี้แจงเรื่องการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการก่อสร้างสะพานและทางลอดจาก Railway Bridge เป็น Arch Underpass บริเวณ RB254 กม.ที่ 768+584.000 แก่ประชาชน ในพื้นที่บ้านหนองหล่ม หมู่ 11 ต.เวียงชัย อ.เวียงชัย จ.เชียงราย ซึ่งชาวบ้านให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินการก่อสร้างต่อไป
2 สิงหาคม 2567 การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา CSDCC และกิจการร่วมค้า ซีเคเอสที-ดีซี 2 (สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย) ลงพื้นที่ชี้แจงแผนงานก่อสร้างทางลอด (Box Underpass) หมายเลข 9 บริเวณ กม.ที่ 708+269.000 แก่ผู้นำชุมชนและประชาชน ในพื้นที่หมู่ 4 บ้านห้วยต้นตุ้มเหนือ ตำบลห้วยลาน อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา โดยจะยกเลิกทางเท้าบริเวณทางลอดดังกล่าว ซึ่งประชาชนมีมติเห็นชอบ และสนับสนุนให้ดำเนินการก่อสร้างต่อไป
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้